โครงงาน

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
๑.  โครงงานเรื่อง  การดูละครกับเยาวชนไทย
๒.  ชื่อผู้นำเสนอโครงงาน
          ๒.๑  นางสาวจิรภา        กั่วพานิช          เลขที่  ๓๒
          ๒.๒  นางสาวนัจวา        เจะดะ             เลขที่  ๒๔
          ๒.๓  นางสาวอันธิดา      กัวพานิช          เลขที่  ๑๗
๓.  ครูที่ปรึกษาโครงงาน  คุณครูโสภิตา    สังฆะโณ  และคุณครูเชษฐา     เถาวัลย์
๔.  หลักการและเหตุผล
          การดูละครเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่มีผู้คนส่วนใหญ่ติดตามกัน เป็นกิจวัตรประจำวัน บางคนอาจติดละครถึงขั้นติดตามกันทุกตอน ซึ่งละครแต่ละเรื่องย่อมมีใจความสำคัญที่จะนำเสนอและสอดแทรกข้อคิดต่างๆ ที่แตกต่างกัน ในการดูละครมีการจำกัดวัยในการชม โดยทางสถานีโทรทัศน์จะมีการแสดงสัญลักษณ์แสดงระดับความเหมาะสมในการรับชมว่าละครนั้นเหมาะสมกับผู้ชมวัยใด  แต่ไม่ได้แน่นอนเสมอไปว่าผู้ชมจะปฏิบัติตามกันทุกคน  จนมีข่าวที่เยาวชนนำพฤติกรรมในละครไปปฏิบัติตาม  และเกิดผลเสียตามมา  โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่นำไปปฏิบัติตามนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่
          ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำ  จึงรณรงค์ให้มีการดูละครอย่างถูกต้อง  โดยผ่านกระบวนการ  Stop  motion  แล้วนำไปเผยแพร่ผ่าน  สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook)  และ  Web  blog  เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเยาชน  ทั้งนี้เพราะกลุ่มเยาวชนส่วนใหญ่  จะให้ความนิยมกับเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นอย่างมาก
๕.  หลักการ  ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
          ๕.๑  การจัดอันดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย
          ๕.๒  ผลกระทบต่อสื่อที่มีต่อเด็ก
          ๕.๓  ทำไมละครจึงมีอิทธิพล  จนเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบได้
          ๕.๔  Stop  motion     
          ๕.๕  Face  book
          ๕.๖  Web  blog
          ๕.๗  ภาษา  HTML
          ๕.๘  โดเมนเนม  (Domain  name)
          ๕.๙  เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)

๖.  วัตถุประสงค์ของโครงงาน
. เพื่อให้เยาวชนได้แง่คิด และข้อคิด จากการดูละครแล้วนำมาปฏิบัติตามในวิธีการที่ผิด ผ่านรูปแบบ    Stop Motion และเพื่อรณรงค์ให้เยาวชนดูละครอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยเผยแพร่ผ่าน                                สื่อสังคมออนไลน์  และ  Web  blog 
.  เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองดูแลให้คำแนะนำบุตรหลานในการดูละคร
๖.๓ เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนไม่ประพฤติตนเลียนแบบค่านิยมของละครในเรื่องที่ผิด  หรือไม่เหมาะสม
๗.  ขอบเขตของโครงงาน
๗.๑  สืบค้นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดูละครเรื่องแรงเงาของเยาวชน  และผลกระทบที่ตามมา
๗.๒  เวลาของการดำเนินงาน  คือ  ภาคเรียนที่   ปีการศึกษา  ๒๕๕๕
    ๗.๓  แหล่งค้นคว้าข้อมูลคือ ห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต\
๘.  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
          ๘.๑ โปรแกรม Ulead ใช้ในการตัดต่อวิดีโอ และทำภาพนิ่งให้ออกมาในรูปแบบ Stop motion
          ๘.๒  โปรแกรม  Photoshop  ใช้ในการแต่งภาพนิ่งให้ดูสวยขึ้น
          ๘.๓  กล่องถ่ายรูป  ใช้ในการถ่ายภาพนิ่ง
๙.  ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

วัน / เดือน / ปี
กิจกรรม
๑ – ๒  ธันวาคม  ๒๕๕๕
-  คณะผู้จัดทำประชุม เพื่อกำหนดหัวข้อโครงงาน 
  ธันวาคม  ๒๕๕๕
-  คณะผู้จัดทำประชุม เพื่อวางแผนการดำเนินงาน  และแยกงานให้เป็นสัดส่วน 
๖ – ๙  ธันวาคม  ๒๕๕๕
-  ศึกษาและหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
๑๒ – ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
-  ดำเนินการจัดทำโครงร่างโครงงาน 
๑๖ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕
-  ดำเนินการจัดทำบทที่ 
๒๐  ธันวาคม  ๒๕๕๕
-  ส่งโครงร่างโครงงาน
๒๓ – ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕
-  ศึกษารูปแบบในการทำ  Stop  motion  ในแต่ละประเภท 
๒ – ๓  มกราคม  ๒๕๕๖
-  รวบรวมข้อคิดจากละครเรื่องต่างๆ 
  มกราคม  ๒๕๕๖
-  ส่งบทที่   
๕ – ๖  มกราคม  ๒๕๕๖
-  แต่งบทละคร เพื่อนำมาประกอบในการทำ               Stop  motion 
๗ – ๘  มกราคม  ๒๕๕๖
-  จัดพิมพ์บทที่   
๙ – ๑๐  มกราคม  ๒๕๕๖
- จัดทำ  Facebook  Fan  Page 
๑๑  มกราคม  ๒๕๕๖
-  ถ่ายภาพนิ่ง  เพื่อทำ  Stop  motion
-  ส่งบทที่   
๑๒ – ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖
-  จัดทำ  Web  blog 
๑๕ – ๑๖ มกราคม ๒๕๕๖
-  ดำเนินการจัดทำบทที่   
- ตกแต่งภาพนิ่ง เพื่อนำไปใส่ในกระบวนการสร้าง   Stop  motion
๑๘  มกราคม  ๒๕๕๖
-  ส่งบทที่    ให้คุณครูโสภิตา  สังฆะโณ  เพื่อตรวจทาน  พร้อมทั้งปรึกษา  และขอคำแนะนำ
๒๕ – ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖
- นำภาพนิ่งที่ตกแต่ง  มาสู่กระบวนการ  Stop  motion  โดยวางภาพเรียงกัน  จนเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว
๖ – ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
-  สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  และนำมาจัดพิมพ์บทที่ 
  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖
-  ส่งบทที่    และ   
๙ – ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
-  จัดทำส่วนประกอบโครงงาน  คือ  บทคัดย่อ  สารบัญ  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  และประวัติผู้จัดทำ
๑๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖
-  รวบรวมโครงงานเป็นเล่ม  พร้อมเข้าเล่มให้เรียบร้อย
๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖
-  นำเสนอโครงงานเรื่อง  “การดูละครกับเยาวชนไทย” 

๑๐.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑  เยาวชนได้แง่คิดและข้อเตือนใจในการรับชมละคร  โดยผ่านกระบวนการ Stop  Motion  และ    เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์  และ  Web  Blog 
๑๐.๒  ผู้ปกครองให้ความดูแล  และอบรมให้คำแนะนำบุตรหลานในการดูละครไม่ปล่อยปะละเลยให้ดูละครแต่เพียงลำพัง
๑๐.๓  เยาวชนไม่เลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากการดูละคร